วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายอเเน



ความเข้าใจเกี่ยวกับ รายอ 6 .....

อัสสลามูอาลัยกุม วาเราะฮ์มาตุลลอฮฺ วาบารอกาตุฮฺ

.....พี่น้องที่เคารพรัก...

หากใครมีเวลา หรือเคยมีโอกาส มาเที่ยว แถว 3 จังหวัด ชายแดนใต้ ในช่วง 3-4 วัน หลังจาก อีดิ้ลฟิฏรีย์ ผ่านไปแล้ว .. แน่นอนว่า ไม่มากก็น้อย ที่เราจะได้ยิน ศัพบัญญัติใหม่ เกิดขึ้นมาใน ช่วงระยะเวลาดังกล่าว

นั่นก็คือ คำว่า รายอ แน หรือ ฮารีรายอ อานัม หรือ รายอ 6 นั่นเองครับ...

สำหรับบางคนนั้น อาจจะรู้สึกว่าเป็นคำใหม่ที่เพิ่งเคยได้ยิน ใช่ไหมครับ
แต่สำหรับพี่น้อง ทาง 3 จังหวัดภาคใต้นั้น คำเหล่านี้ ถือได้ว่า อยู่คู่สังคมมานานนับศตวรรษแล้วหละครับ...

...รายอ 6 คือ อะไร?...

ความจริงแล้ว วันอีดหรือวันตรุษ ในศาสนาอิสลามนั้น มีอยู่แค่ 2 วัน เท่านั่นเองนะครับ... นั่นก็คือ วัน อีดิล ฟิฏรีย์ กับ วัน อีดิล อัฎฮา
โดยอ้างอิงหลักฐานมาจาก ฮาดีษที่ได้รายงานโดยท่าน อานัส บิน มาลิก (ร.ฎ) ซึ่งท่านได้เล่าว่า

قَدِمَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ
فِيهِمَا فَقَالَ: "مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ"؟ قَالُوا: كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ. فَقَالَ
رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم: "إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ

ความว่า

“ในขณะที่ท่านศาสดาศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม ได้เดินทาง
(อพยพจากมักกะฮฺ)มาถึงเมืองมาดีนะฮ์นั้น ปรากฏว่าชาวเมือง(มาดีนะฮฺ)ได้มีวันละเล่นรื่นเริงอยู่ด้วยกัน 2 วัน(นั้นก็คือ วัน นัยรูซ กับ วัน มะฮฺรอญาณ)...

ท่านศาสดาจึงถามขึ้นว่า “ วันทั้งสองนี้มันเป็นวันอะไรกัน?” ชาวเมืองเหล่านั้นจึงตอบท่านว่า

“ พวกเราเคยละเล่นรื่นเริงกันในสองวันนี้...ในยุคญาฮีลียะฮฺ”

ท่านศาสดาจึงกล่าวขึ้นว่า
“ แท้จริง องค์อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้แทนที่วันทั้งสองนั้นด้วยวันอันประเสริฐแก่พวกท่านมากกว่าวันทั้งสองนั้นเสียอีก นั่นก็คือ วันตรุษ อัฎฮา กับ วันตรุษ ฟิฏรีย์ “

(รายงานโดย อีหม่ามอะฮฺหมัด เลขที่ 12025 ,อาบูดาวุด เลขที่ 1134,
นาซาอีย์ ใน ซุนัน อัล-กุบรอ เลขที่ 1755, อาบู ยะอฺลา เลขที่ 3820,
อัล-ฮากีม เลขที่ 1091)

ท่าน อิบนุ ฮาญัร อัล-อัซกอลานีย์ ได้กล่าวว่า

“ ฮาดีษนี้ รายงานโดย อาบูดาวุด และ ท่าน นาซาอีย์ ด้วยสายรายงานที่
ซอเฮี้ยะ”

(โปรดดู “บูลูฆุล มารอม” ญุซ 1 หน้า 179)

เป็นอันเคลียร์นะครับว่า วันอีด ในอิสลามนั้น มี่แค่ 2 วันเท่านั้น
แต่แล้วทำไม ทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ เขามีวัน อีด กันถึง 3 วันเลยหรือ?

คำตอบก็คือ

ตามความจริงแล้วนั้น ไม่มีอุลามะอฺทางภาคใต้คนไหนหรอกครับ ที่ได้บัญญัติวันอีดที่ 3 ขึ้นมา ..แต่ที่มาที่ไปของเรื่องก็คือ

เมื่อถึงวัน ตรุษออกบวช หรือ อีดิลฟิฏรีย์นั้น ชาวบ้าน มักจะทำขนมคาวหวาน ไว้เลี้ยงฉลองเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น... นั่นก็เพราะว่า ในวันพรุ่งนี้(หมายถึงหลังจากอิดิลฟิฏรีย์ไปแล้ว)ชาวบ้านมักจะ ถือศีลอด สุนัตเชาวาล ติดต่อกันไปจนครบ 6 วันเลย... และหากทำอาหารคาวหวาน มากจนเกินไป ในวัน ตรุษออกบวช ก็จะทำให้อาหารเหล่านั้น บูดเสียโดยใช่เหตุ...เลยคิดกันว่า หากเราไปทำเลี้ยงกันอีกที ภายหลังจาก ถือศีลอดหกวันไปแล้ว ก็จะเป็นการเต็มที่มากกว่า ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้เราเห็น วันที่ 8 ของเดือนเชาวาล
(อันเป็นวันเสร็จสิ้น การถือศีลอด 6 วัน)..ของพี่น้องมุสลิม แถว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูจะครื้นเครงยิ่งกว่าวัน อีดิลฟิฏรีย์ เสียอีก...

ในวันตรุษอีดิลฟิฏรีย์...ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาหมดไปกับการ เยี่ยมญาติ และต้อนรับขับสู่ บรรดาแขกเหรื่อที่มาเยี่ยมเยียน... จนทำให้ การเยี่ยม กุบุร ตลอดจนการสังสรรค์ยังสถานที่ต่างๆดูจะไม่ค่อยมีความคึกคักมากนัก...
ต่างจาก หลายๆจังหวัดทางภาคใต้ตอนบน ที่มักจะใช้วัน อิดิลฟิฏรีย์ ไปกับการ เยี่ยมกุบุร และ สังสรรค์พร้อมกับครอบครัว ,มิตรสหาย ตามสถานที่ต่างๆ..

ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงเรียก วันดังกล่าวว่า รายอ 6 (ซึ่งหมายถึง วันแห่งความรื่นเริง หลังจาก บวชครบ 6 วันแล้วนั่นเอง) ซึ่งความจริงแล้วนั้น บรรดาอิหม่าม และ ผู้นำศาสนาในชุมชน ก็ได้ให้ความเข้าใจเรื่องนี้ แก่ชาวบ้านกัน ทุกๆปีอยู่แล้ว...

....การเยี่ยมกุบุร ใน วัน รายอ 6....

การเยี่ยมเยียน กุบูร นั้นโดยรวมแล้วถือเป็นสิ่งที่ ศาสนาส่งเสริมให้ปฏิบัติ
โดยไม่คำนึงช่วงเวลาเป็นการเฉพาะ...ซึ่งหมายถึง จะกระทำในช่วงเวลาไหนก็ได้...

แต่เนื่องจาก วัน ตรุษอีดิลฟิฏรีย์ ของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ใน ชายแดนภาคใต้ได้หมดไปกับการเยี่ยมญาติและต้อนรับแขกผู้มาเยือน
จึงเป็นเหตุให้ผู้นำชุมชน บางแห่ง ใช้วัน รายอ 6 นี้ เป็นวันรวมตัวกันเพื่อไป เยี่ยมกุบุร แทนวัน อีดิลฟิฏรีย์..

หากจะว่าไปแล้ว การเจาะจงวันเพื่อใช้ในการเยี่ยมเยียนนั้น นับว่าอนุญาตให้กระทำได้ สืบเนื่องจาก สายรายงาน จากท่าน อิบนุ อุมัร (ร.ฎ)

.عن ابن عمر رضي الله عنهما قال كان النبي صلى الله عليه وسلم يأتي مسجد قباء كل سبت ماشيا وراكبا وكان عبد الله بن عمر رضي الله عنهما يفعله

ความว่า

“ ท่านศาสดา(ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) จะเดินทางไปยัง มัสยิด กุบาอฺ ทุกๆวัน เสาร์ มีทั้ง เดินเท้า และ มีทั้งขี่พาหนะ...และท่าน อิบนุ อุมัรก็ได้ ปฏิบัติเช่นนั้น เป็นประจำ

(บันทึก โดย บุคอรีย์ และ มุสลิม)

ท่านอีหม่าม นาวาวีย์ (ร.ฮ)ได้กล่าวอธิบายฮาดีษบทดังกล่าวว่า

“ ฮาดีษบทนี้ เป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่า อนุญาตให้ เจาะจงวันต่างๆเพื่อการเยียมเยียนได้”

(โปรดดู ชัรฮู มุสลิม เล่ม 9 หน้า 171 และเช่นเดียวกัน ใน ฟัตฮุลบารียฺ เล่ม 3 หน้า 69)

....การละหมาดตัซบีฮ์ กัน ในวันรายอ 6.....

หากใครเคยอาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ นานพอสมควร...ก็จะสังเกตเห็นว่า...บางชุมชนนั้น มีการกำหนดให้วันดังกล่าว มีการละหมาด ตัซบีฮ์ ขึ้น...

ซึ่งหากพิจารณากันตามหลักความเป็นจริงแล้วนั้น การละหมาด ตัซบีฮ์ ไม่ได้ ถูกส่งเสริม ให้ปฏิบัติ ในวันใดวันใดวันหนึ่งเพียงเท่านั้น...เราสามารถละหมาดได้ในวันเวลาใดก็ตามที่เราต้องการ...แต่สำหรับพี่น้องมุสลิม ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้น...วันนี้ คือวันที่ญาติพี่น้องยังคงอยู่กับบ้าน บุคคลที่ทำงานในต่างถิ่นโดยส่วนใหญ่ ก็ยังไม่กลับไปทำงาน....จึงถือโอกาสของการรวมตัวกันในครั้งนี้ ร่วมกระทำละหมาด ตัซบีฮฺ กันสักวาระหนึ่ง...บ้างก็กระทำกัน ในคืนของวันนั้น บ้างก็กระทำกันในช่วงเช้า...

ซึ่งหากพิจารณาจากฮาดีษข้างต้น ที่ผมได้นำเสนอพี่น้องไปนั้น

ท่าน อิบนุ ฮาญัร อัล-อัซ-กอลานีย์ ได้อ้างหลักฐานจากฮาดีษดังกล่าวว่า

าوَفِي هَذَا اَلْحَدِيْثِ عَلَى اِخْتِلاَف طُرُقِهِ دَلاَلَةٌ عَلَى جَوَازِ تَخْصِيْصِ بَعْضِ اْلأَيَّامِ بِبَعْضِ اْلأَعْمَالِ الصَّالِحَةِ وَالْمُدَاوَمَةِ عَلَى ذَلِك

ความว่า

“ ในฮาดีษบทนี้ ซึ่งสายรายงานของมันนั้นแตกต่างกันไป...นับเป็นสิ่ง บ่งชี้ถึงการอนุญาตให้เจาะจงเวลาบางส่วน ด้วยการปฏิบัติอามาลอันดีงามบางอย่าง
และ(อนุญาต)ให้กระทำสิ่งดังกล่าวเป็นนิจสิน”

(โปรดดู “ฟัตฮุลบารีย์”ของท่านอิบนุฮาญัร เล่ม 4 หน้า 197)

หากพิจารณาคำกล่าวของ ผู้นำแห่งวิชาการฮาดีษ ข้างต้นแล้ว ก็ทราบได้ว่า .การเจาะจงละหมาด ตัซบีฮ์ ในวัน ที่ 8 เชาวาล ก็ถือ ว่าเป็นสิ่งที่อุญาตให้กระทำได้เช่นกัน...

ผมเคยมีโอกาสไปแถวรัฐ มะละกา ของประเทศมาเลเซีย ในช่วง วัน อีดิลฟิฏรีย์... ที่นั่น เขาจะเรียก วันที่ถัดจากวัน ตรุษออกบวช ว่า วันรายอที่ 2 และนับ รายอ เรื่อยไปจนถึงวัน รายอที่ 29...

ในห้วงเวลาเหล่านี้ยังคงมีการประดับประดา บ้านเรือน และเยี่ยมเยียน เลี้ยงอาหารกันอยู่ไม่ขาดสาย...บางหมู่บ้าน มีการตกลงกันว่า จะให้บ้านไหนเลี้ยงก่อน...

ซึ่งการใช้คำว่า "วันรายอ" นั้น คงไม่เป็นความเสียหายแต่ประการใด แต่หากไปใช้คำว่า วันอีด ...อันนี้ค่อยมาว่ากันอีกที...




คำว่า " วัน รายอ" นั้น ตามหลักภาษา เดิมแล้ว หมายถึงวัน รื่นเริง...

ฉะนั้นคำๆนี้ จึงถูกใช้อย่างกว้างขวางใน ทุกศาสนา..

.เช่น ฮารี รายอจีนอ(วันตรุษจีน) รายอฮินดู(วันตรุษของชาวฮินดู)เป็นต้น...

แต่สำหรับมุสลิม จะมีการเติมท้ายว่า ฮารีรายอ ปอซอ...(วันตรุษออกบวช) หรือ ฮารีรายอ กุรบาน (วันตรุษฮัจญี)เป็นต้น

จึงนับว่าเป็นการมองโลกในแง่ร้ายยิ่งนัก หากจะกล่าวหาว่า คนที่เรียก
รายอแน นั้นเป็น คนที่กระทำบิดอะฮฺ เป็นสิ่งฮารอม เหล่านี้เป็นต้น

และสิ่งที่พี่น้องมุสลิมรุ่นใหม่ควรตระหนักก็คือ

1. รายอ 6 นั้นไม่ใช่วัน อีด ตามบทบัญญัติศาสนา ...มันเป็นเพียงแค่คำเรียกแทนวันแห่งความรื่นเริงซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก การถือศีลอดไปแล้ว 6 วัน

2. การละหมาด ตัซบีฮ์ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ใช่ การละหมาด รายอ 6 ดังที่บางคนเข้าใจ

3. อย่าให้วันแห่งความรื่นเริงนี้แปดเปื้อนไปด้วยกิจกรรมที่เป็น มะอฺซียัต

สำหรับผู้เขียนเอง...จะไม่ค่อยเรียกว่า รายอแน สักเท่าไหร่...แต่มักใช้คำแทนว่า “ปอซอแน” เสียมากกว่า เพราะอย่างน้อย อาจเป็นการสร้างความฉุกคิดให้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาลก็เป็นได้....

.ขอให้พี่น้องกระจ่างโดยทั่วกัน.
sumber dari wahabi buta

https://www.facebook.com/wahabibuta?fref=ts

1 ความคิดเห็น: