วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

[HUKUM BERDOA SECARA BERJEMAAH]


(ADAPUN KEBIASAANYA WAHABI MENOLAK BERDOA SECARA BERJMAAH)
___________________________________________
Assalamualaikum warahmatullahiwabarokaatuh..

INI SUATU DALIL PADA MENYATAKAN HUKUM BERDOA SECARA BERJEMAAH ..

BISMILLAHHIROOHMAANIRROHIM,ALHAMDULILLAH DAN SELAWAT DAN SALAM ATAS JUNJUNGAN BAGINDA NABI KITA MUHAMMAD SALLALLAHUALAIHIWASALLAM

HADIS BERDOA SECARA BERJEMAAH.
Kami paparkan sebilangan hadis yang menjadi dalil dan sandaran bagi Berdoa Secara Berjemaah Selepas Solat Fardhu, di antaranya:

1. Mengeluarkan hadis ini oleh Thabarani di dalam kitabnya Al-Ausath daripada Qais Al-Madani: “…Waktu aku, Abu Hurairah dan seorang sahabat sedang berdoa dan berzikir mengingati Tuhan kami Azzawajalla di dalam masjid, tiba-tiba menuju Rasulullah ke arah kami dan duduk bersama-sama, kami pun berdiam diri, lalu ia bersabda: “Kembalilah kepada apa yang sedang kamu lakukan.” Berkata Zaid: “lalu aku serta sahabatku berdoa sebelum berdoanya Abu Hurairah lalu baginda mengaminkan doa kami…”

2. Megeluarkan hadis ini oleh Thabarani daripada Abi Hurairah daripada Habib bin Musallamah berkata: “Aku telah mendengar Rasulullah s.a.w bersabda: “Tidaklah berhimpun satu jamaah (perhimpunan) lalu berdoa salah seorang di kalangan mereka itu dan yang lain mengaminkan doanya, melainkan Allah perkenankan doa mereka.”

3. Tersebut di dalam Sahih Muslim pada Bab Harus Berjemaah Pada Solat Sunat. Selepas Nabi s.a.w bersolat sunat berjemaah bersama-sama dengan Anas, emak dan emak saudaranya lalu baginda berdoa dengan secara berjemaah. Hadisnya secara ringkas: “Maka sembahyang Nabi dengan kami… kemudian ia mendoakan kami ahli rumah dengan setiap kebaikan dunia dan akhirat… dan adalah akhir doanya bagiku: “Ya Allah! perbanyak dan berkatilah harta dan anaknya, Anas.”

4. Mengeluarkan hadis ini oleh Thabarani di dalam kitabnya Al-Kabir daripada Ibnu Abbas dan di dalam Al-Ausath daripada Ibnu Omar, berkata keduanya: “Setelah sembahyang Rasulullah s.a.w solat Subuh, kemudian baginda menghadap kaumnya lalu berdoa, “Ya Allah! berkatilah kami pada bandar kami dan berkatilah pada cupak kami dan gantang kami.”
Telah menyebut kedua hadis ini oleh As-Samhudi di dalam Al-Wafaa dan rijal keduanya kuat, sebagaimana katanya.

Berkata Al-Muhaddis As-Sayyid Muhammad Yusuf Al-Binuri di dalam kitabnyaMaarifussunan (Jilid 3, muka 123): “Maka ini (hadis di atas) dan hadis seumpamanya pada bab ini ialah memadai sebagai hujjah (dalil) bagi perkara yang dibuat secara beradat oleh manusia pada sekalian negeri, iaitu berdoa secara berjemaah selepas sembahyang. Kerana inilah juga telah menyebut Fuqaha kami (ahli feqah bermazhab Hanafi)…… dan berkata Imam Nawawi dalam Syarah Muhazzab: “Berdoa disunatkan bagi imam, makmum dan mereka yang bersembahyang seorang diri mengiringi sekalian sembahyang dengan ketiadaan khilaf ulama’ dan katanya lagi: “Disunatkan berhadap imam ke arah makmum dan berdoa.”

KETERANGAN.
1. Hadis-hadis di atas menunjukkan bahawa :
(i) Disunatkan bagi imam, makmum dan mereka yang sembahyang seorang diri, berdoa selepas solat fardhu dan sunat.
(ii) Disunatkan bagi imam, berdoa secara berjemaah bersama-sama makmum selepas solat fardhu dan sunat, jika hendak mengajar makmum atau menghendaki mereka mengaminkan doanya.
(iii) Disunatkan bagi makmum mengaminkan doa imam. (sebagaimana sabit dengan hadis 1 dan 2).
(iv) Disunatkan mengangkat kedua tangan ketika berdoa.
Peringatan!
Telah sabit dengan sandaran hadis-hadis bahawa disunatkan menyapu muka dengan kedua belah tangan selepas berdoa.

Adapun berdalil pada masalah ini, tidak semestinya dengan hadis yang terang-terang menyatakan Nabi s.a.w berdoa secara berjemaah selepas Solat Fardhu, kerana apabila ‘Doa Secara Berjemaah’ itu sendiri telah sabit dengan sandaran hads-hadis di atas, memadailah ia sebagai dalil boleh mengerjakannya pada bila-bila masa, lebih-lebih lagi amalan berdoa secara berjemaah ini dilakukan pada waktu yang disunatkan berdoa, iaitu selepas menunaikan solat fardhu.
Masalah ini seumpama dengan masalah Tazkirah (peringatan/ceramah) selepas solat Tarawih. Tidak ada satu hadis pun yang menyatakan Nabi dan Sayyidina Omar mengerjakannya selepas Tarawih. Oleh itu, tidak boleh sekali-kali menuduh mereka yang mengerjakannya sebagai pembuat bid’ah, kerana Tazkirah itu sendiri ada sandaran dalil syara’, lebih-lebih lagi dilakukan di bulan Ramadhan. Walaupun sandarannya itu tidak secara terang-terang menyatakan selepas Tarawih. Begitu juga masalah selawat ke atas Nabi s.a.w yang menyelangi Solat Tarawih dan Solat Tasbih berjemaah pada malam Aidilfitri.

2. Jika diterima perkataan mereka bahawa dalil pada mengerjakan sesuatu perkara itu hendaklah secara terang-terang, maka dalil yang melarang melakukan sesuatu perkara juga mestilah secara terang-terang, kerana firman Allah s.w.t :
وما آ تا كم الرسولُ فخذوه وما نهَا كم عنه فانتهوا . ( الحشر أية : 7 )
Maksudnya: “Apa yang dibawa oleh Rasul kepada kamu, hendaklah kamu lakukan dan apa yang dilarangnya hendaklah kamu jauhi.”
Bahkan tidak ada satu pun dalil yang terang-terang di dalam kitab-kitab hadis yang melarang berdoa secara berjemaah selepas solat fardhu, maka batallah perkataan mereka itu dan masuklah masalah berdoa secara berjemaah selepas solat fardhu ini di dalam perkara yang didatangkan oleh Rasul kepada kamu ( وما آتاكم الرسول ) kerana ianya disandarkan dengan dalil-dalil syara’.

3. Jika sesuatu perkara tidak disandarkan dengan sesuatu daripada kaedah-kaedah syara’ dan dalil-dalilnya yang umum, bolehlah dikatakan perkara tersebut itu bid’ah.
( الحديث ) مَنْ أَحْدَثَ في أَمْرِنا هذا ما لَيْسَ منه فهو رَدٌّ
Maksudnya: “Sesiapa yang mereka-reka pada urusan kami (syara’ kami) sesuatu perkara yang bukan daripada syara’ kami, maka perkara tersebut ditolak.”
Mentafsir Ibnu Hajar Al-Haitami di dalamFathul-Mubin pada lafaz ” ما لَيْسَ منه “ (sesuatu perkara yang bukan daripada syara’ kami) dengan katanya: “Daripada perkara yang menyalahi syara’ kami atau perkara yang tiada suatu sokongan pun daripada kaedah-kaedah syara’ kami dan dalil-dalilnya yang umum.”
Berkata Imam Syafie: “Perkara yang direka-reka dan menyalahi Qur’an, sunnah, ijma’ ulama’ atau sandaran daripada sahabat, maka ianya daripada bid’ah yang sesat dan perkara yang direka-reka daripada kebaikan sedangkan tidak menyalahi sesuatu daripada yang tersebut, maka ianya daripada bid’ah yang elok.”

4. Oleh itu, perkara yang tidak dilakukan oleh Nabi s.a.w atau sahabat, tidak semestinya perkara itu Bid’ah Dhalalah. Contohnya seperti menitik ayat Qur’an dan membariskannya, membahagikan ilmu kepada berbagai-bagai bahagian serta membuat istilah dan kaedah bagi setiap bahagian ilmu seperti ilmu Feqah, Usuluddin, Tasawuf, Tatabahasa Arab, ilmu Ma’ani, ilmu Bayan, ilmu Mantik, ilmu Sya’ir, Usul Tafsir, Mustalah Hadis dan lain-lain, mengarang kitab- kitab ilmu, menubuhkan gerakan-gerakan Islam, mendirikan madrasah pengajian, mensistemkan pembelajaran dan sebagainya.
Tidaklah mereka yang membid’ahkan doa berjemaah selepas solat fardhu, melainkan disebabkan kejahilan dan ketakburan. Janganlah kita terpedaya dengan mereka yang memfasikkan orang mukmin dan memecahbelahkan Umat Islam. Hendaklah kita menuruti jejak langkah ulama’ dahulu yang muktabar dengan mempelajari ilmu daripada ahlinya supaya tidak tersesat dan menyesatkan.
والله أعلم

PERINGATAN
Pembetulan pada:
HADIS SUNAT BERDOA SELEPAS SEMBAHYANG
Hadis No:3) Hadis Abi Hurairah, ditanyakan Nabi s.a.w: “Ya Rasulullah! bilakah doa yang terlebih segera diperkenankan?Bersabdanya: “Doa selepas solat fardhu ( بَعْدَ الْمَكْتوبَة ) terlebih afdhal daripada doa selepas solat sunat seperti kelebihan solat fardhu mengatasi solat sunat.”
Yang Betulnya ialah:
Sesungguhnya Turmizi mengeluarkan hadis Abi Umamah: “ Dikatakan: Wahai Rasullullah saw: Manakah doa yang terlebih utama diperkenankan? Baginda menjawab: Tengah malam yang akhir dan selepas solat fardhu (dubura solawati maktubah).” Turmizi berkata: Hadis ini hasan.
HADIS BERDOA SECARA BERJEMAAH.

2. Megeluarkan hadis ini oleh Thabarani daripada Abi Hurairah daripada Habib bin Musallamah berkata: “Aku telah mendengar Rasulullah s.a.w bersabda: “Tidaklah berhimpun satu jamaah (perhimpunan) lalu berdoa salah seorang di kalangan mereka itu dan yang lain mengaminkan doanya, melainkan Allah perkenankan doa mereka.”
Yang Betulnya ialah: Mengeluarkan hadis ini oleh Thabarani daripada Abi Hubairahdaripada Habib bin Maslamah berkata: “Aku telah mendengar Rasulullah s.a.w bersabda: “Tidaklah berhimpun satu jamaah (perhimpunan) lalu berdoa salah seorang di kalangan mereka itu dan yang lain mengaminkan doanya, melainkan Allah perkenankan doa mereka.”

sumber dari-penuntut ilmu pasir tumbuh

akhir kata dari ambo yang fakir..
kita dalam usaha membuat permintaan dengan kerajaan, kita mintak ramai-ramai pun, tetapi belum tentu dapat..pah kemudian dalam usaha meminta dengan ALLAH taala tidak mahu mintak ramai-ramai?..padahal antara ALLAH dan kerajaan, pangkat siapa yang lebih besar?

buka minda dan fikir ya wahai saudara seagama ku
rujuk sumber asal : https://www.facebook.com/seoul.yamiru?fref=ts

DALIL WAHABI MENGHALALKAN DARAH AHLI SUNNAH WALJAMAAH(SUNNI)


Al-Amir Ibnu Idris Al-Kelantany
__________________________________________________________________

Kata-kata muhammad ibn wahab pengasas wahhabiy :
=>
'Sesungguhnya aku mengajak kalian kepada tauhid dan meninggalkan syirik terhadap ALLAH. Semua yang ada di bawah tujuh lapis langit ini benar-benar musyrik, dan barang siapa membunuh orang musyrik maka dia mendapat kan surga.

Siapa saja yang masuk ke dalam dakwah kami, maka dia memiliki hak dan kewajiban sama dengan kami, dan siapa saja yang tidak masuk (kedalam dakwah kami) bersama kami, maka dia kafir , halal nyawa dan hartanya'

->ini kata-kata ulamak wahabi sendiri yang menghalalkan darah orang islam :
[siapa saja yang tidak masuk (kedalam dakwah kami) bersama kami, maka dia KAFIR, HALAL NYAWA dan HARTANYA'..!!!]

-masyaALLAH..inikah yang dipanggil lapang dada oleh puak wahabi?
-ALLAHhuakbar, mudahnya kamu wahabi menghalal darah orang islam
-ulamak pewaris nabi kamu bunuh?.
-di ajak muzakarah tidak mahu, tetapi bunuh kami(sunni) kamu mau?
-bunuh kami masuk syurga kerana kami orang musrik disisi kamu wahabi?
-mudah sungguh kamu untuk membunuh sesama islam
-orang yahudi tidak pula kamu perang?

wahai wahabi yang buta celik..
-Kamu sungguhnya telah diperdayakan oleh syaitan, dan diperalatkan oleh yahudi.
-Sesungguhnya kamulah duri dalam daging wahai wahabi.
-Musuh dalam selimut.
-Pohon parasit yang hidup bersama pohon tumpangannya, tetapi pada masa yang sama dia membunuh pohon yang hidup bersamanya.
Tidak ubah seperti wahabi yang mendakwa islam ahli sunnah, tetapi menghalalkan dan membunuh ahli sunnah waljamaah(sunni)

Padahal, jika benar kamu(wahabi) inginkan kebenaran islam..kenapa kamu menolak muzakarah dengan kami ahli sunnah waljamaah?
berani kerana benar dan takut kerana salah..

akidah kamu wahabi
-> tuhan itu beranggota
->berjirim dan jisim
->tuhan ada memerlukan tempat
{nauzubillahiminzalik}

akidah kami ahli sunnah waljamaah
ALLAH tiada anggota kerana yang punya anggota adalah sifat makhluk
ALLAH tidak berjirim dan jisim, kerana jirim dan jisim itu makhluk
ALLAH maujud billa makan = ALLAH wujud tampa memerlukan tempat bahkan tempat itu yang memerlukan ALLAH taala

ya ALLAH, bukakanlah pintu hati kami(Ahli sunnah waljamaah) dan mereka(tidak kira samaada wahabi atau syiah dll) yang ikhlas inginkan kebenaran dijalanMU ya ALLAH, tunjukkanlah kami jalan yang lurus yaALLAH yarobbal alamin.
rujuk https://www.facebook.com/photo.php?fbid=718255374880639&set=a.145504552155727.16732.100000885486893&type=1&theater

เราจะละหมาด ตะร้อวีฮฺ กันแบบไหน?



เราจะละหมาด ตะร้อวีฮฺ กันแบบไหน?

โดย... WBB…

1. เราจะละหมาดแบบ 8 หรือ แบบ 20 ดี ?

.....อ่านก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ.....

عَنْ يَزِيدَ بْنِ رُومَانَ , قَالَ: كَانَ النَّاسُ يَقُومُونَ فِي زَمَنِ عُمَرَرضي الله عنه فِي رَمَضَانَ بِثَلاَثٍ وَعِشْرِينَ رَكْعَةً (رواه مالك في الموطأ)

ความว่า

“ รายงานจาก ท่าน ยาซีด บิน รูมาน ได้กล่าวว่า
“ มวลมนุษย์ได้ ละหมาด สุนัต เดือนรอมฎอน ในสมัยของท่าน คอลีฟะฮ์ อุมัร
(ร.ฎ) กัน 23 รอกากัต”

(รายงาน โดย อีหม่าม มาลิก บิน อานัส ใน “อัล-มุวัฏเฏาะอฺ” ของท่าน )

พี่น้องครับ...ความหมายของ 23 รอกาอัต ที่ว่านี้ ก็คือ การละหมาด ตะรอเวียฮ์ 20 รอกาอัต และ ละหมาด วิตร อีก 3 รอกาอัต นั่นเองครับ...

มาดูรายงานอีกบทสิครับ...



عَنْ السَّائِبِ بْنِ يَزِيدَ قَالَ: كَانُوا يَقُومُونَ عَلَى عَهْدِ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فِي شَهْرِ رَمَضَانَ بِعِشْرِينَ رَكْعَةً (راه البيهقي وَصَحَّحَ إِسْنَادَهُ النَّوَوِيُّ وَغَيْرُهُ)

ความว่า

“ รายงานจาก ท่าน ซาอิบ บิน ยาซีด ท่านได้กล่าวว่า “ บรรดาอัครสาวกได้ปฏิบัติละหมาดเดือน รอมฎอน ในสมัย ของท่าน อุมัร (ร.ฎ) กัน 20 รอกาอัต”

(รายงานโดย อีหม่าม บัยฮากีย์ ...ซึ่งท่านอีหม่ามนาวาวีย์ และท่าน อื่นๆ ได้ตัดสิน ว่า สายรายงานของมัน ซอเฮี้ยะ)

พี่น้องครับ...

ลองหา หลักฐาน มาสักบทสิครับ...ที่ระบุว่า มี ซอฮาบัตท่านใด คัดค้าน การ ถือปฏิบัติของ ท่าน อุมัร (ร.ฎ) ในการ กำหนด จำนวน รอกาอัต ของการ ละหมาด ตะรอเวียะไว้ 20 รอกาอัต...

ท่าน อุมัร คือบุคคลแรกที่ได้กำหนดให้ปฏิบัติ ละหมาดตารอเวียะ เป็นญามาอะฮ์ ในทุกๆคืน และ ยังได้ปรากฏ สายรายงานมาว่า ในสมัยของท่านได้มีการปฏิบัติ ละหมาด ตะรอเวียฮ์กัน 20 รอกาอัต...

عَنْ ابْنِ عُمَرَ: أَنَّ رَسُولَ اللهِ قَالَ إِنَّ اللَّهَ جَعَلَ الْحَقَّ عَلَى لِسَانِ عُمَرَ وَقَلْبِهِ

ความว่า

“ จากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร (ร.ฎ ) ว่า “ ท่านศาสดา ได้กล่าวว่า

“ แท้จริง องค์อัลลอฮฺ ได้สร้างสัจธรรม ผ่าน ลิ้น และ จิตใจ ของ อุมัร”

(รายงานโดย อีหม่าม ติรมีซีย์)

ท่าน ศาสดาได้กล่าวไว้อีกว่า

عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيِّينَ مِنْ بَعْدِي عُضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ

ความว่า

“ ขอท่านทั้งหลายจงยึดตามแนวทางของฉันและแนวทางของบรรดา
คอลีฟะฮ์ทั้งหลายเถิด หลังจากฉัน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับทางนำ ฉะนั้น จงยึดถือ แนวทางเหล่านั้นไว้จงมั่นเถิด”

( รายงานโดย อีหม่าม อะฮ์หมัด, อาบูดาวุด, อิบนุมาญะฮฺ, ติรมีซีย์ ....
ท่าน อีหม่าม ฮากีม ได้ตัดสินว่ามัน ซอเฮียะ ตามเงื่อนไข ของ บุคอรีย์และมุสลิม)

จากท่าน ฮูซัยฟะฮ์ (ร.ด) ว่า ท่าน ศาสดาได้ทรงกล่าวว่า


اِقْتَدُوا بِاَللَّذَيْنِ مِنْ بَعْدِي أَبِي بَكْرٍ وَعُمَرَ

ความว่า

“ ท่านทั้งหลายจงยึดตาม ชายสองคน หลังฉันจากไปเถิด... นั้นก็คือ อาบูบักร และ อุมัร “

( รายงานโดย อีหม่าม ติรมีซีย์ ซึ่งท่านได้ ตัดสินว่า ฮาซัน (ยอมรับได้) )

2. จะเลือกมัสยิดที่ อ่าน อัล-กุรอ่านเป็น ยุซๆ หรือ มัสยิดที่อ่าน เป็น
ซูเราะฮฺสั้นๆดี?

......อ่านก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ....

ท่าน ชัยค์ อัล-อัลลามะฮ์ สุลัยมาน อัล –ญามาล อัช-ชาฟีอีย์ (ฮ.ศ. 1204) เจ้าของ ตำรา ฮาชียะฮ์ ญามาล อันโด่งดัง ได้กล่าวว่า

وَفِعْلُهَا بِالْقُرْآنِ فِي جَمِيعِ الشَّهْرِ أَوْلَى وَأَفْضَلُ مِنْ تَكْرِيرِ سُورَةِ الْإِخْلَاصِ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ مِنْهَا وَمِنْ تَكْرِيرِ سُورَةِ الرَّحْمَنِ أَوْ هَلْ أَتَى فِي جَمِيعِهَا وَمِنْ تَكْرِيرِ سُورَةِ الْإِخْلَاصِ بَعْدَ كُلِّ سُورَةٍ مِنْ التَّكَاثُرِ إلَى الْمَسَدِ كَمَا اعْتَادَهُ غَالِبُ الْأَئِمَّةِ بِمِصْرَ

ความว่า

“ การละหมาด ตะรอเวียะฮ์ ด้วยการอ่าน อัลกุรอาน (จนจบเล่ม)ภายในหนึ่งเดือนนั้น ย่อมประเสริฐกว่า การอ่าน ซูเราะฮ์ อัล-อิคลาศ (กุลฮูวัลลอฮ์ฯ)ซ้ำๆกัน 3 จบ ในทุกๆ รอกาอัต...

และ(ยังประเสริฐกว่า)การอ่าน ซูเราะฮ์ อัร-รอฮฺมาน หรือ ซูเราะฮ์ ฮัล อาตา ซ้ำๆ ในทุกๆรอกาอัต ...

และ(ยังประเสริฐกว่า)การอ่าน ซูเราะฮ์ อัล-อิคลาศ (กุลฮูวัลลออ์ฯ) ภายหลังจาก
ซูเราะฮ์ อัต-ตากาษุร จนถึง ซูเราะฮ์ อัล-มาซัด(ตับบัดยาดาฯ)
ดังที่บรรดา อิหม่ามมัสยิด ในอียิปต์ ส่วนใหญ่ได้ถือปฏิบัติกันเป็นนิจสิน”

( โปรดดู ฮาชียะฮฺ อัล-ญามาล เล่มที่ 4 หน้า 325 )


ตกลงว่าเรื่องความประเสริฐนั้น ผมไม่ขอคัดค้านแต่ประการใด เพราะแน่นอนว่า การอ่านยาวๆนั้นย่อมประเสริฐกว่าการอ่านสั้นๆอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมจะบอกให้พี่น้องทราบก็คือว่า การอ่านสั้นๆดังที่บ้านเราโดยส่วนใหญ่ปฏิบัติกันนั้น เป็นที่อนุมัต และ ไม่ถือเป็นบิดอะฮฺ ดังที่ชนบางกลุ่มกล่าวหาแต่อย่างใด


ท่าน ชัยคฺ สุลัยมาน บอกเราหรือว่า การอ่าน อัล-ฮากุมฯ – กุลฮูวัลลอฮฺ ดังกล่าวนั้นเป็นบิดอะฮ์?

เปล่าเลย... ท่านกลับบอกว่า มันคือ ธรรมเนียมปฏิบัติของ บรรดาอีหม่าม มัสยิดส่วนใหญ่ ของประเทศ อียิปต์ (ในสมัยของท่าน)ต่างหาก (ซึ่ง ก็ราวๆ 250 ปีมาแล้ว)...

มีสายรายงานฮาดีษ มาจากท่าน อานัส บิน มาลิก (ร.ด) ว่า ได้มีชายคนหนึ่ง
(คือท่าน กัลซูม บิน ฮาดัม) ผู้เป็นชาว อันศอร ซึ่งท่านเองได้ทำหน้าที่เป็น
อีหม่าม นำละหมาดที่ มัสยิด กุบาอฺ ... ทุกๆ ครั้งที่ท่าน อ่านซูเราะฮ์
(หลังจากฟาตีฮะฮฺ)ท่านจะเริ่มด้วย ซูเราะฮ์ อัล อิคลาศ(กุลฮูวัลลอฮฯ) จนกระทั่งจบ... จากนั้น จึงอ่าน ซูเราะฮ์ อื่นๆควบอีกที และท่านก็ได้กระทำอย่างนี้ อยู่เสมอในทุกๆ รอกาอัต...

เหตุการณ์นี้ได้สร้างความลำบากใจแก่บรรดาศอฮาบัต ท่านอื่นๆเป็นอย่างมาก
จนในที่สุด เรื่องราวนี้ก็ได้รับทราบถึงองค์ศาสดา (ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) ...ท่านศาสดา ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม ได้กล่าว แก่ชายคนนั้น
(กัลซูม บิน ฮาดัม)ว่า

يَا فُلاَنُ مَا يَمْنَعُكَ أَنْ تَفْعَلَ مَا يَأْمُرُكَ بِهِ أَصْحَابُكَ وَمَا يَحْمِلُكَ عَلَى لُزُومِ هَذِهِ السُّورَةِ فِى كُلِّ رَكْعَةٍ . فَقَالَ إِنِّى أُحِبُّهَا . فَقَالَ حُبُّكَ إِيَّاهَا أَدْخَلَكَ الْجَنَّةَ

ความว่า
“โอ้...ท่าน(กัลซูม) เอ๋ย...สิ่งใดหักห้ามท่านไม่ให้ กระทำในสิ่งที่บรรดา สหายของท่านได้ใช้ให้ท่านกระทำหรือ?

และสิ่งใดเป็นตัวฉุดรั้งท่านให้ คงมั่นอยู่กับการ อ่านซูเราะฮ์ บทนี้ในทุกๆรอกาอัต หรือ? ชายผู้นั้นได้กล่าวแก่ท่านศาสดาว่า


“ แท้จริง... ผมรักมันเสียแล้วครับ” ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า “ความรักของท่านที่มีต่อมันนั้น จะนำท่านเข้าสู่สรวงสวรรค์”

(โปรดดู “ซอเฮี้ยะ บุคอรีย์” เล่ม 3 หน้า 305 ลำดับฮาดีษที่ 774 )

ท่าน อีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อิบนุฮาญัร อัล-อัซกอลานีย์ ได้กล่าวว่า

وَفِيهِ دَلِيلٌ عَلَى جَوَازِ تَخْصِيصِ بَعْضِ الْقُرْآنِ بِمَيْلِ النَّفْسِ إِلَيْهِ وَالِاسْتِكْثَارِ مِنْهُ وَلَا يُعَدُّ ذَلِكَ هِجْرَانًا لِغَيْرِهِ

ความว่า

“ ฮาดีษ บทนี้เป็นหลักฐานบ่งบอกว่า อนุญาต ให้ทำการเจาะจง การอ่านบางส่วน ของอัลกุรอ่าน ด้วยเหตุแห่งความพึงพอใจที่มีต่อมัน และ
(เป็นหลักฐานว่าอนุญาตให้)อ่านมันมากๆได้ และไม่ถือว่าการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการละทิ้ง (อัลกุรอ่าน)ในส่วนอื่นๆ”

( โปรดดู ฟัตฮุลบารีย์ ของท่าน อิบนุฮาญัร เล่มที่ 3 หน้าที่ 150 )

และเมื่อพิจารณาบริบทในสังคมบ้านเรา จะพบว่า

• สังคมบ้านเรานั้น มีผู้ที่จดจำ อัลกุรอ่าน กันอยู่น้อยมาก ดังนั้นการอ่าน ซูเราะฮ์ที่ยาวๆนั้น จึงถือเป็นความยากลำบากแก่ผู้ที่ทำหน้าเป็นอีหม่าม อย่างมากเลยทีเดียว

• ซูเราะฮ์ อัตตากาษุร นั้น หากนับไปจนถึง ซูเราะฮ์ อัล-มาซัด แล้ว ก็เป็นจำนวนที่พอเหมาะ กับ รอกาอัตของ ตารอเวี้ยะ ซึ่งกระทำกัน 20 รอกาอัต ...และซูเราะฮ์เหล่านี้ คือ ซูเราะฮ์ ท้ายๆของอัล-กุรอ่าน ซึ่งมุสลิมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในสังคมบ้านเรานั้น มักจดจำและคุ้นเคยกันดี

• การอ่าน ซูเราะฮ์ อัล-อิคลาศ(กุลฮูฯ) สลับไปกับการอ่าน ซูเราะฮ์ข้างต้นนั้น ไม่ถือเป็นที่เสื่อมเสียแต่ประการใด หากเราได้พิจารณา จากฮาดีษ และ คำกล่าวของ อิบนุฮาญัร ข้างต้น

• การละหมาด ตารอเวียะ 20 รอกาอัตนั้น ใช้เวลานาน พอสมควร ซึ่ง มุสลิมบ้านเรา ไม่ค่อยเคยชินกับการ ยืนละหมาดเป็นเวลานานๆ ฉะนั้น การ อ่านซูเราะฮ์ สั้นๆ ก็คงจะเพียงพอแล้วที่จะให้พวกเขารู้จักถึงความอดทนและเสียสละเวลาเพื่อ รับใช้องค์อภิบาลแห่งสากลจักรวาล

3. หลังจาก สาลาม ในช่วงละหมาด ตะรอวีฮฺ จะอ่าน ศอลาวาต นาบี อย่างที่คนทั่วไปเขาทำกัน ได้ไหม?

....อ่านก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ.....

การละหมาดตารอเวี้ยะในบ้านเรานั้น ...หากสังเกตดู ก็จะพบว่า ทุกๆหลังจากการให้ สาลามแล้ว...ก็ จะมีผู้กล่าว ศอลาวาตประสาทพร แด่องค์ศาสดาของเรา ใช่ไหมครับ ...การกล่าวศอลาวาต มักจะกระทำกันพร้อมเพรียงและมีเสียงดัง ... ซึ่งเราจะใช้เวลาช่วงดังกล่าวนั้น ขอดุอา และ หยุดพักไปพร้อมๆกัน ...


การอ่าน ศอลาวาตที่เราพบเจอกันใน ช่วงการละหมาดตะรอเวี้ยะนั้น ไม่ใช่ว่าจะมีปรากฏ อยู่เฉพาะในบ้านเราเท่านั้น นะครับ.. เพราะนอกเหนือจาก ประเทศใน
อุษาอาคเนย์แล้ว...การกระทำดังกล่าว ได้มี ปฏิบัติกัน ในบางประเทศแถบอาหรับ เช่น ประเทศ เยเมน ตูนีเซีย เป็นต้น ซึ่งเราจะรับทราบได้จากคำ ฟัตวา ของท่าน ชัยคฺ อับดุร-รอฮฺมาน บิน ซิยาด อัซ-ซุบัยดีย์ อัช-ชาฟีอีย์ (ฮ.ศ. 975) ท่าน
ได้กล่าวว่า

لم يصرح أحد من الأصحاب باستحباب الصلاة على النبي بين تسليمات التراويح، لكن الذي يفهم من عموم كلامهم أنه يستحب الدعاء عقب كل صلاة، والمراد عقب التسليم، وقد صرحوا بأنه يستحب افتتاح الدعاء وختمه بالصلاة على النبي وعلى آله وأصحابه وسلم، فاستحباب الصلاة حينئذ من هذه الحيثية

ความว่า

“ ไม่มีลูกศิษย์ลูกหาของท่าน อีหม่าม ชาฟีอีย์ คนใดเลยที่ได้บอกไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับเรื่อง สุนัตให้ ซอลาวาต แก่ท่าน ศาสดา ในช่วงระหว่างการให้สาลามต่างๆในละหมาดตารอเวี้ยะ... แต่ถึงกระนั้น ...สิ่งที่เราเข้าใจได้จาก คำกล่าวของพวกเขาโดยรวมก็คือ... ถือเป็น สุนัต (ส่งเสริมให้กระทำ)การดุอา หลังจาก ทุกๆการละหมาด ซึ่งหมายถึง หลังจากการให้ สาลามนั้นเอง... และแท้จริงนั้น พวกเขา(เหล่าปวงปราชญ์ชาฟีอียะฮ์ ) ก็ได้ให้ความชัดเจนไว้ว่า ... ถือเป็น สุนัต ให้ เริ่มการขอดุอา และ จบการขอดุอา ด้วยกับการ ศอลาวาต แก่ท่าน ศาสดา
ตลอดจน วงศาคณาญาติและมิตรสหายทั้งหลายของท่าน...

ฉะนั้น การที่ สุนัตให้ กล่าว ศอลาวาต ในการ ละหมาด ตารอเวี้ยะนั้น ก็เกิดจากการพิจารณาในส่วนนี้”

(โปรด ดู “ตัลคีศ ฟาตาวา อิบนู ซียาด” หน้า 94 )

พีน้องครับ...



และขอทิ้งท้ายบทความนี้ไว้ด้วยคำกล่าวของ
อัล-ฮาบีบ อับดุลลอฮฺ บิน อาลาวีย์ อัล-ฮัดดาด (เกิด ฮ.ศ. 1044) เกี่ยวกับการ ละหมาดตะรอเวียฮ์ ว่า

“ ขอท่านจงหลีกห่างจากการละหมาดสุนัตแบบเร่งด่วน ดังที่ได้ปฏิบัติกันเป็นวิสัยโดยผู้โง่เขลาทั้งหลายในการละหมาดตะรอเวียฮ์ ...

นั้นก็เพราะการปฏิบัติอย่างเร่งรีบดังกล่าวนั้น อาจทำให้พวกเขาบกพร่องในการปฏิบัติองค์ประกอบบางอย่างในการละหมาด เช่น การ ฏุมะนีนะอฺ(สงบนิ่ง)ในการ รุกุวอฺ หรือ ซูญูด หรือ อาจอ่าน ฟาติฮะฮ์แบบไม่จริงจัง เพราะอ่านแบบรีบร้อน...

จนเป็นเหตุให้การละหมาดของพวกเขาบางคนไม่มีค่าควรแก่การได้รับผลบุญจากองค์อัลลออ์เลย...

เขาเหล่านั้นเสร็จสิ้นการละหมาดกันอย่างภาคภูมิ (เพราะเสร็จเร็ว)... สิ่งดังกล่าวนี้ เป็นหนึ่งในกลลวงของ ชัยฏอน ที่ได้วางไว้แก่ผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เพื่อที่จะให้
อามาลต่างๆของพวกเขาบกพร่องไป ด้วยเหตุนี้ ขอพวกท่านพึงสังวรและระมัดระวังกันให้ดีเถิด โอ้.. พี่น้องของฉัน....

เมื่อท่านทั้งหลาย ปฏิบัติละหมาดตะรอเวียฮฺหรือ ละหมาดสุนัตอื่นๆ...ก็ขอพวกท่านจงทำให้การ ยืน ...การ รุกุวอฺ ...การซูญูด ฯลฯ นั้นสมบูรณ์แบบเถิด ...
ทั้งการ คูชุวอฺ ...การ ฮูฎูร และรักษาไว้ซึ่ง รูกุน และ อาดับ ต่างๆของการละหมาด...”

(สรุปจาก " อัล-นาศออิฮฺ อัดดีนียะฮฺ วัลวาศอยา อัล อิมานียะฮ์ หน้า 38 )

ขอให้มีความสุขกับ รอมฎอน นะครับ...
เขียนโดย..... wahabi buta
https://www.facebook.com/wahabibuta?fref=ts

รายอเเน



ความเข้าใจเกี่ยวกับ รายอ 6 .....

อัสสลามูอาลัยกุม วาเราะฮ์มาตุลลอฮฺ วาบารอกาตุฮฺ

.....พี่น้องที่เคารพรัก...

หากใครมีเวลา หรือเคยมีโอกาส มาเที่ยว แถว 3 จังหวัด ชายแดนใต้ ในช่วง 3-4 วัน หลังจาก อีดิ้ลฟิฏรีย์ ผ่านไปแล้ว .. แน่นอนว่า ไม่มากก็น้อย ที่เราจะได้ยิน ศัพบัญญัติใหม่ เกิดขึ้นมาใน ช่วงระยะเวลาดังกล่าว

นั่นก็คือ คำว่า รายอ แน หรือ ฮารีรายอ อานัม หรือ รายอ 6 นั่นเองครับ...

สำหรับบางคนนั้น อาจจะรู้สึกว่าเป็นคำใหม่ที่เพิ่งเคยได้ยิน ใช่ไหมครับ
แต่สำหรับพี่น้อง ทาง 3 จังหวัดภาคใต้นั้น คำเหล่านี้ ถือได้ว่า อยู่คู่สังคมมานานนับศตวรรษแล้วหละครับ...

...รายอ 6 คือ อะไร?...

ความจริงแล้ว วันอีดหรือวันตรุษ ในศาสนาอิสลามนั้น มีอยู่แค่ 2 วัน เท่านั่นเองนะครับ... นั่นก็คือ วัน อีดิล ฟิฏรีย์ กับ วัน อีดิล อัฎฮา
โดยอ้างอิงหลักฐานมาจาก ฮาดีษที่ได้รายงานโดยท่าน อานัส บิน มาลิก (ร.ฎ) ซึ่งท่านได้เล่าว่า

قَدِمَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم الْمَدِينَةَ وَلَهُمْ يَوْمَانِ يَلْعَبُونَ
فِيهِمَا فَقَالَ: "مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ"؟ قَالُوا: كُنَّا نَلْعَبُ فِيهِمَا فِي الْجَاهِلِيَّةِ. فَقَالَ
رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم: "إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا يَوْمَ الأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ

ความว่า

“ในขณะที่ท่านศาสดาศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม ได้เดินทาง
(อพยพจากมักกะฮฺ)มาถึงเมืองมาดีนะฮ์นั้น ปรากฏว่าชาวเมือง(มาดีนะฮฺ)ได้มีวันละเล่นรื่นเริงอยู่ด้วยกัน 2 วัน(นั้นก็คือ วัน นัยรูซ กับ วัน มะฮฺรอญาณ)...

ท่านศาสดาจึงถามขึ้นว่า “ วันทั้งสองนี้มันเป็นวันอะไรกัน?” ชาวเมืองเหล่านั้นจึงตอบท่านว่า

“ พวกเราเคยละเล่นรื่นเริงกันในสองวันนี้...ในยุคญาฮีลียะฮฺ”

ท่านศาสดาจึงกล่าวขึ้นว่า
“ แท้จริง องค์อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้แทนที่วันทั้งสองนั้นด้วยวันอันประเสริฐแก่พวกท่านมากกว่าวันทั้งสองนั้นเสียอีก นั่นก็คือ วันตรุษ อัฎฮา กับ วันตรุษ ฟิฏรีย์ “

(รายงานโดย อีหม่ามอะฮฺหมัด เลขที่ 12025 ,อาบูดาวุด เลขที่ 1134,
นาซาอีย์ ใน ซุนัน อัล-กุบรอ เลขที่ 1755, อาบู ยะอฺลา เลขที่ 3820,
อัล-ฮากีม เลขที่ 1091)

ท่าน อิบนุ ฮาญัร อัล-อัซกอลานีย์ ได้กล่าวว่า

“ ฮาดีษนี้ รายงานโดย อาบูดาวุด และ ท่าน นาซาอีย์ ด้วยสายรายงานที่
ซอเฮี้ยะ”

(โปรดดู “บูลูฆุล มารอม” ญุซ 1 หน้า 179)

เป็นอันเคลียร์นะครับว่า วันอีด ในอิสลามนั้น มี่แค่ 2 วันเท่านั้น
แต่แล้วทำไม ทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ เขามีวัน อีด กันถึง 3 วันเลยหรือ?

คำตอบก็คือ

ตามความจริงแล้วนั้น ไม่มีอุลามะอฺทางภาคใต้คนไหนหรอกครับ ที่ได้บัญญัติวันอีดที่ 3 ขึ้นมา ..แต่ที่มาที่ไปของเรื่องก็คือ

เมื่อถึงวัน ตรุษออกบวช หรือ อีดิลฟิฏรีย์นั้น ชาวบ้าน มักจะทำขนมคาวหวาน ไว้เลี้ยงฉลองเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น... นั่นก็เพราะว่า ในวันพรุ่งนี้(หมายถึงหลังจากอิดิลฟิฏรีย์ไปแล้ว)ชาวบ้านมักจะ ถือศีลอด สุนัตเชาวาล ติดต่อกันไปจนครบ 6 วันเลย... และหากทำอาหารคาวหวาน มากจนเกินไป ในวัน ตรุษออกบวช ก็จะทำให้อาหารเหล่านั้น บูดเสียโดยใช่เหตุ...เลยคิดกันว่า หากเราไปทำเลี้ยงกันอีกที ภายหลังจาก ถือศีลอดหกวันไปแล้ว ก็จะเป็นการเต็มที่มากกว่า ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้เราเห็น วันที่ 8 ของเดือนเชาวาล
(อันเป็นวันเสร็จสิ้น การถือศีลอด 6 วัน)..ของพี่น้องมุสลิม แถว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูจะครื้นเครงยิ่งกว่าวัน อีดิลฟิฏรีย์ เสียอีก...

ในวันตรุษอีดิลฟิฏรีย์...ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาหมดไปกับการ เยี่ยมญาติ และต้อนรับขับสู่ บรรดาแขกเหรื่อที่มาเยี่ยมเยียน... จนทำให้ การเยี่ยม กุบุร ตลอดจนการสังสรรค์ยังสถานที่ต่างๆดูจะไม่ค่อยมีความคึกคักมากนัก...
ต่างจาก หลายๆจังหวัดทางภาคใต้ตอนบน ที่มักจะใช้วัน อิดิลฟิฏรีย์ ไปกับการ เยี่ยมกุบุร และ สังสรรค์พร้อมกับครอบครัว ,มิตรสหาย ตามสถานที่ต่างๆ..

ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงเรียก วันดังกล่าวว่า รายอ 6 (ซึ่งหมายถึง วันแห่งความรื่นเริง หลังจาก บวชครบ 6 วันแล้วนั่นเอง) ซึ่งความจริงแล้วนั้น บรรดาอิหม่าม และ ผู้นำศาสนาในชุมชน ก็ได้ให้ความเข้าใจเรื่องนี้ แก่ชาวบ้านกัน ทุกๆปีอยู่แล้ว...

....การเยี่ยมกุบุร ใน วัน รายอ 6....

การเยี่ยมเยียน กุบูร นั้นโดยรวมแล้วถือเป็นสิ่งที่ ศาสนาส่งเสริมให้ปฏิบัติ
โดยไม่คำนึงช่วงเวลาเป็นการเฉพาะ...ซึ่งหมายถึง จะกระทำในช่วงเวลาไหนก็ได้...

แต่เนื่องจาก วัน ตรุษอีดิลฟิฏรีย์ ของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ใน ชายแดนภาคใต้ได้หมดไปกับการเยี่ยมญาติและต้อนรับแขกผู้มาเยือน
จึงเป็นเหตุให้ผู้นำชุมชน บางแห่ง ใช้วัน รายอ 6 นี้ เป็นวันรวมตัวกันเพื่อไป เยี่ยมกุบุร แทนวัน อีดิลฟิฏรีย์..

หากจะว่าไปแล้ว การเจาะจงวันเพื่อใช้ในการเยี่ยมเยียนนั้น นับว่าอนุญาตให้กระทำได้ สืบเนื่องจาก สายรายงาน จากท่าน อิบนุ อุมัร (ร.ฎ)

.عن ابن عمر رضي الله عنهما قال كان النبي صلى الله عليه وسلم يأتي مسجد قباء كل سبت ماشيا وراكبا وكان عبد الله بن عمر رضي الله عنهما يفعله

ความว่า

“ ท่านศาสดา(ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) จะเดินทางไปยัง มัสยิด กุบาอฺ ทุกๆวัน เสาร์ มีทั้ง เดินเท้า และ มีทั้งขี่พาหนะ...และท่าน อิบนุ อุมัรก็ได้ ปฏิบัติเช่นนั้น เป็นประจำ

(บันทึก โดย บุคอรีย์ และ มุสลิม)

ท่านอีหม่าม นาวาวีย์ (ร.ฮ)ได้กล่าวอธิบายฮาดีษบทดังกล่าวว่า

“ ฮาดีษบทนี้ เป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่า อนุญาตให้ เจาะจงวันต่างๆเพื่อการเยียมเยียนได้”

(โปรดดู ชัรฮู มุสลิม เล่ม 9 หน้า 171 และเช่นเดียวกัน ใน ฟัตฮุลบารียฺ เล่ม 3 หน้า 69)

....การละหมาดตัซบีฮ์ กัน ในวันรายอ 6.....

หากใครเคยอาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ นานพอสมควร...ก็จะสังเกตเห็นว่า...บางชุมชนนั้น มีการกำหนดให้วันดังกล่าว มีการละหมาด ตัซบีฮ์ ขึ้น...

ซึ่งหากพิจารณากันตามหลักความเป็นจริงแล้วนั้น การละหมาด ตัซบีฮ์ ไม่ได้ ถูกส่งเสริม ให้ปฏิบัติ ในวันใดวันใดวันหนึ่งเพียงเท่านั้น...เราสามารถละหมาดได้ในวันเวลาใดก็ตามที่เราต้องการ...แต่สำหรับพี่น้องมุสลิม ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้น...วันนี้ คือวันที่ญาติพี่น้องยังคงอยู่กับบ้าน บุคคลที่ทำงานในต่างถิ่นโดยส่วนใหญ่ ก็ยังไม่กลับไปทำงาน....จึงถือโอกาสของการรวมตัวกันในครั้งนี้ ร่วมกระทำละหมาด ตัซบีฮฺ กันสักวาระหนึ่ง...บ้างก็กระทำกัน ในคืนของวันนั้น บ้างก็กระทำกันในช่วงเช้า...

ซึ่งหากพิจารณาจากฮาดีษข้างต้น ที่ผมได้นำเสนอพี่น้องไปนั้น

ท่าน อิบนุ ฮาญัร อัล-อัซ-กอลานีย์ ได้อ้างหลักฐานจากฮาดีษดังกล่าวว่า

าوَفِي هَذَا اَلْحَدِيْثِ عَلَى اِخْتِلاَف طُرُقِهِ دَلاَلَةٌ عَلَى جَوَازِ تَخْصِيْصِ بَعْضِ اْلأَيَّامِ بِبَعْضِ اْلأَعْمَالِ الصَّالِحَةِ وَالْمُدَاوَمَةِ عَلَى ذَلِك

ความว่า

“ ในฮาดีษบทนี้ ซึ่งสายรายงานของมันนั้นแตกต่างกันไป...นับเป็นสิ่ง บ่งชี้ถึงการอนุญาตให้เจาะจงเวลาบางส่วน ด้วยการปฏิบัติอามาลอันดีงามบางอย่าง
และ(อนุญาต)ให้กระทำสิ่งดังกล่าวเป็นนิจสิน”

(โปรดดู “ฟัตฮุลบารีย์”ของท่านอิบนุฮาญัร เล่ม 4 หน้า 197)

หากพิจารณาคำกล่าวของ ผู้นำแห่งวิชาการฮาดีษ ข้างต้นแล้ว ก็ทราบได้ว่า .การเจาะจงละหมาด ตัซบีฮ์ ในวัน ที่ 8 เชาวาล ก็ถือ ว่าเป็นสิ่งที่อุญาตให้กระทำได้เช่นกัน...

ผมเคยมีโอกาสไปแถวรัฐ มะละกา ของประเทศมาเลเซีย ในช่วง วัน อีดิลฟิฏรีย์... ที่นั่น เขาจะเรียก วันที่ถัดจากวัน ตรุษออกบวช ว่า วันรายอที่ 2 และนับ รายอ เรื่อยไปจนถึงวัน รายอที่ 29...

ในห้วงเวลาเหล่านี้ยังคงมีการประดับประดา บ้านเรือน และเยี่ยมเยียน เลี้ยงอาหารกันอยู่ไม่ขาดสาย...บางหมู่บ้าน มีการตกลงกันว่า จะให้บ้านไหนเลี้ยงก่อน...

ซึ่งการใช้คำว่า "วันรายอ" นั้น คงไม่เป็นความเสียหายแต่ประการใด แต่หากไปใช้คำว่า วันอีด ...อันนี้ค่อยมาว่ากันอีกที...




คำว่า " วัน รายอ" นั้น ตามหลักภาษา เดิมแล้ว หมายถึงวัน รื่นเริง...

ฉะนั้นคำๆนี้ จึงถูกใช้อย่างกว้างขวางใน ทุกศาสนา..

.เช่น ฮารี รายอจีนอ(วันตรุษจีน) รายอฮินดู(วันตรุษของชาวฮินดู)เป็นต้น...

แต่สำหรับมุสลิม จะมีการเติมท้ายว่า ฮารีรายอ ปอซอ...(วันตรุษออกบวช) หรือ ฮารีรายอ กุรบาน (วันตรุษฮัจญี)เป็นต้น

จึงนับว่าเป็นการมองโลกในแง่ร้ายยิ่งนัก หากจะกล่าวหาว่า คนที่เรียก
รายอแน นั้นเป็น คนที่กระทำบิดอะฮฺ เป็นสิ่งฮารอม เหล่านี้เป็นต้น

และสิ่งที่พี่น้องมุสลิมรุ่นใหม่ควรตระหนักก็คือ

1. รายอ 6 นั้นไม่ใช่วัน อีด ตามบทบัญญัติศาสนา ...มันเป็นเพียงแค่คำเรียกแทนวันแห่งความรื่นเริงซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก การถือศีลอดไปแล้ว 6 วัน

2. การละหมาด ตัซบีฮ์ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ใช่ การละหมาด รายอ 6 ดังที่บางคนเข้าใจ

3. อย่าให้วันแห่งความรื่นเริงนี้แปดเปื้อนไปด้วยกิจกรรมที่เป็น มะอฺซียัต

สำหรับผู้เขียนเอง...จะไม่ค่อยเรียกว่า รายอแน สักเท่าไหร่...แต่มักใช้คำแทนว่า “ปอซอแน” เสียมากกว่า เพราะอย่างน้อย อาจเป็นการสร้างความฉุกคิดให้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาลก็เป็นได้....

.ขอให้พี่น้องกระจ่างโดยทั่วกัน.
sumber dari wahabi buta

https://www.facebook.com/wahabibuta?fref=ts