วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เราจะละหมาด ตะร้อวีฮฺ กันแบบไหน?



เราจะละหมาด ตะร้อวีฮฺ กันแบบไหน?

โดย... WBB…

1. เราจะละหมาดแบบ 8 หรือ แบบ 20 ดี ?

.....อ่านก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ.....

عَنْ يَزِيدَ بْنِ رُومَانَ , قَالَ: كَانَ النَّاسُ يَقُومُونَ فِي زَمَنِ عُمَرَرضي الله عنه فِي رَمَضَانَ بِثَلاَثٍ وَعِشْرِينَ رَكْعَةً (رواه مالك في الموطأ)

ความว่า

“ รายงานจาก ท่าน ยาซีด บิน รูมาน ได้กล่าวว่า
“ มวลมนุษย์ได้ ละหมาด สุนัต เดือนรอมฎอน ในสมัยของท่าน คอลีฟะฮ์ อุมัร
(ร.ฎ) กัน 23 รอกากัต”

(รายงาน โดย อีหม่าม มาลิก บิน อานัส ใน “อัล-มุวัฏเฏาะอฺ” ของท่าน )

พี่น้องครับ...ความหมายของ 23 รอกาอัต ที่ว่านี้ ก็คือ การละหมาด ตะรอเวียฮ์ 20 รอกาอัต และ ละหมาด วิตร อีก 3 รอกาอัต นั่นเองครับ...

มาดูรายงานอีกบทสิครับ...



عَنْ السَّائِبِ بْنِ يَزِيدَ قَالَ: كَانُوا يَقُومُونَ عَلَى عَهْدِ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فِي شَهْرِ رَمَضَانَ بِعِشْرِينَ رَكْعَةً (راه البيهقي وَصَحَّحَ إِسْنَادَهُ النَّوَوِيُّ وَغَيْرُهُ)

ความว่า

“ รายงานจาก ท่าน ซาอิบ บิน ยาซีด ท่านได้กล่าวว่า “ บรรดาอัครสาวกได้ปฏิบัติละหมาดเดือน รอมฎอน ในสมัย ของท่าน อุมัร (ร.ฎ) กัน 20 รอกาอัต”

(รายงานโดย อีหม่าม บัยฮากีย์ ...ซึ่งท่านอีหม่ามนาวาวีย์ และท่าน อื่นๆ ได้ตัดสิน ว่า สายรายงานของมัน ซอเฮี้ยะ)

พี่น้องครับ...

ลองหา หลักฐาน มาสักบทสิครับ...ที่ระบุว่า มี ซอฮาบัตท่านใด คัดค้าน การ ถือปฏิบัติของ ท่าน อุมัร (ร.ฎ) ในการ กำหนด จำนวน รอกาอัต ของการ ละหมาด ตะรอเวียะไว้ 20 รอกาอัต...

ท่าน อุมัร คือบุคคลแรกที่ได้กำหนดให้ปฏิบัติ ละหมาดตารอเวียะ เป็นญามาอะฮ์ ในทุกๆคืน และ ยังได้ปรากฏ สายรายงานมาว่า ในสมัยของท่านได้มีการปฏิบัติ ละหมาด ตะรอเวียฮ์กัน 20 รอกาอัต...

عَنْ ابْنِ عُمَرَ: أَنَّ رَسُولَ اللهِ قَالَ إِنَّ اللَّهَ جَعَلَ الْحَقَّ عَلَى لِسَانِ عُمَرَ وَقَلْبِهِ

ความว่า

“ จากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร (ร.ฎ ) ว่า “ ท่านศาสดา ได้กล่าวว่า

“ แท้จริง องค์อัลลอฮฺ ได้สร้างสัจธรรม ผ่าน ลิ้น และ จิตใจ ของ อุมัร”

(รายงานโดย อีหม่าม ติรมีซีย์)

ท่าน ศาสดาได้กล่าวไว้อีกว่า

عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيِّينَ مِنْ بَعْدِي عُضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ

ความว่า

“ ขอท่านทั้งหลายจงยึดตามแนวทางของฉันและแนวทางของบรรดา
คอลีฟะฮ์ทั้งหลายเถิด หลังจากฉัน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับทางนำ ฉะนั้น จงยึดถือ แนวทางเหล่านั้นไว้จงมั่นเถิด”

( รายงานโดย อีหม่าม อะฮ์หมัด, อาบูดาวุด, อิบนุมาญะฮฺ, ติรมีซีย์ ....
ท่าน อีหม่าม ฮากีม ได้ตัดสินว่ามัน ซอเฮียะ ตามเงื่อนไข ของ บุคอรีย์และมุสลิม)

จากท่าน ฮูซัยฟะฮ์ (ร.ด) ว่า ท่าน ศาสดาได้ทรงกล่าวว่า


اِقْتَدُوا بِاَللَّذَيْنِ مِنْ بَعْدِي أَبِي بَكْرٍ وَعُمَرَ

ความว่า

“ ท่านทั้งหลายจงยึดตาม ชายสองคน หลังฉันจากไปเถิด... นั้นก็คือ อาบูบักร และ อุมัร “

( รายงานโดย อีหม่าม ติรมีซีย์ ซึ่งท่านได้ ตัดสินว่า ฮาซัน (ยอมรับได้) )

2. จะเลือกมัสยิดที่ อ่าน อัล-กุรอ่านเป็น ยุซๆ หรือ มัสยิดที่อ่าน เป็น
ซูเราะฮฺสั้นๆดี?

......อ่านก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ....

ท่าน ชัยค์ อัล-อัลลามะฮ์ สุลัยมาน อัล –ญามาล อัช-ชาฟีอีย์ (ฮ.ศ. 1204) เจ้าของ ตำรา ฮาชียะฮ์ ญามาล อันโด่งดัง ได้กล่าวว่า

وَفِعْلُهَا بِالْقُرْآنِ فِي جَمِيعِ الشَّهْرِ أَوْلَى وَأَفْضَلُ مِنْ تَكْرِيرِ سُورَةِ الْإِخْلَاصِ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ مِنْهَا وَمِنْ تَكْرِيرِ سُورَةِ الرَّحْمَنِ أَوْ هَلْ أَتَى فِي جَمِيعِهَا وَمِنْ تَكْرِيرِ سُورَةِ الْإِخْلَاصِ بَعْدَ كُلِّ سُورَةٍ مِنْ التَّكَاثُرِ إلَى الْمَسَدِ كَمَا اعْتَادَهُ غَالِبُ الْأَئِمَّةِ بِمِصْرَ

ความว่า

“ การละหมาด ตะรอเวียะฮ์ ด้วยการอ่าน อัลกุรอาน (จนจบเล่ม)ภายในหนึ่งเดือนนั้น ย่อมประเสริฐกว่า การอ่าน ซูเราะฮ์ อัล-อิคลาศ (กุลฮูวัลลอฮ์ฯ)ซ้ำๆกัน 3 จบ ในทุกๆ รอกาอัต...

และ(ยังประเสริฐกว่า)การอ่าน ซูเราะฮ์ อัร-รอฮฺมาน หรือ ซูเราะฮ์ ฮัล อาตา ซ้ำๆ ในทุกๆรอกาอัต ...

และ(ยังประเสริฐกว่า)การอ่าน ซูเราะฮ์ อัล-อิคลาศ (กุลฮูวัลลออ์ฯ) ภายหลังจาก
ซูเราะฮ์ อัต-ตากาษุร จนถึง ซูเราะฮ์ อัล-มาซัด(ตับบัดยาดาฯ)
ดังที่บรรดา อิหม่ามมัสยิด ในอียิปต์ ส่วนใหญ่ได้ถือปฏิบัติกันเป็นนิจสิน”

( โปรดดู ฮาชียะฮฺ อัล-ญามาล เล่มที่ 4 หน้า 325 )


ตกลงว่าเรื่องความประเสริฐนั้น ผมไม่ขอคัดค้านแต่ประการใด เพราะแน่นอนว่า การอ่านยาวๆนั้นย่อมประเสริฐกว่าการอ่านสั้นๆอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมจะบอกให้พี่น้องทราบก็คือว่า การอ่านสั้นๆดังที่บ้านเราโดยส่วนใหญ่ปฏิบัติกันนั้น เป็นที่อนุมัต และ ไม่ถือเป็นบิดอะฮฺ ดังที่ชนบางกลุ่มกล่าวหาแต่อย่างใด


ท่าน ชัยคฺ สุลัยมาน บอกเราหรือว่า การอ่าน อัล-ฮากุมฯ – กุลฮูวัลลอฮฺ ดังกล่าวนั้นเป็นบิดอะฮ์?

เปล่าเลย... ท่านกลับบอกว่า มันคือ ธรรมเนียมปฏิบัติของ บรรดาอีหม่าม มัสยิดส่วนใหญ่ ของประเทศ อียิปต์ (ในสมัยของท่าน)ต่างหาก (ซึ่ง ก็ราวๆ 250 ปีมาแล้ว)...

มีสายรายงานฮาดีษ มาจากท่าน อานัส บิน มาลิก (ร.ด) ว่า ได้มีชายคนหนึ่ง
(คือท่าน กัลซูม บิน ฮาดัม) ผู้เป็นชาว อันศอร ซึ่งท่านเองได้ทำหน้าที่เป็น
อีหม่าม นำละหมาดที่ มัสยิด กุบาอฺ ... ทุกๆ ครั้งที่ท่าน อ่านซูเราะฮ์
(หลังจากฟาตีฮะฮฺ)ท่านจะเริ่มด้วย ซูเราะฮ์ อัล อิคลาศ(กุลฮูวัลลอฮฯ) จนกระทั่งจบ... จากนั้น จึงอ่าน ซูเราะฮ์ อื่นๆควบอีกที และท่านก็ได้กระทำอย่างนี้ อยู่เสมอในทุกๆ รอกาอัต...

เหตุการณ์นี้ได้สร้างความลำบากใจแก่บรรดาศอฮาบัต ท่านอื่นๆเป็นอย่างมาก
จนในที่สุด เรื่องราวนี้ก็ได้รับทราบถึงองค์ศาสดา (ศอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) ...ท่านศาสดา ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม ได้กล่าว แก่ชายคนนั้น
(กัลซูม บิน ฮาดัม)ว่า

يَا فُلاَنُ مَا يَمْنَعُكَ أَنْ تَفْعَلَ مَا يَأْمُرُكَ بِهِ أَصْحَابُكَ وَمَا يَحْمِلُكَ عَلَى لُزُومِ هَذِهِ السُّورَةِ فِى كُلِّ رَكْعَةٍ . فَقَالَ إِنِّى أُحِبُّهَا . فَقَالَ حُبُّكَ إِيَّاهَا أَدْخَلَكَ الْجَنَّةَ

ความว่า
“โอ้...ท่าน(กัลซูม) เอ๋ย...สิ่งใดหักห้ามท่านไม่ให้ กระทำในสิ่งที่บรรดา สหายของท่านได้ใช้ให้ท่านกระทำหรือ?

และสิ่งใดเป็นตัวฉุดรั้งท่านให้ คงมั่นอยู่กับการ อ่านซูเราะฮ์ บทนี้ในทุกๆรอกาอัต หรือ? ชายผู้นั้นได้กล่าวแก่ท่านศาสดาว่า


“ แท้จริง... ผมรักมันเสียแล้วครับ” ท่านศาสดาจึงกล่าวว่า “ความรักของท่านที่มีต่อมันนั้น จะนำท่านเข้าสู่สรวงสวรรค์”

(โปรดดู “ซอเฮี้ยะ บุคอรีย์” เล่ม 3 หน้า 305 ลำดับฮาดีษที่ 774 )

ท่าน อีหม่าม อัล-ฮาฟิซ อิบนุฮาญัร อัล-อัซกอลานีย์ ได้กล่าวว่า

وَفِيهِ دَلِيلٌ عَلَى جَوَازِ تَخْصِيصِ بَعْضِ الْقُرْآنِ بِمَيْلِ النَّفْسِ إِلَيْهِ وَالِاسْتِكْثَارِ مِنْهُ وَلَا يُعَدُّ ذَلِكَ هِجْرَانًا لِغَيْرِهِ

ความว่า

“ ฮาดีษ บทนี้เป็นหลักฐานบ่งบอกว่า อนุญาต ให้ทำการเจาะจง การอ่านบางส่วน ของอัลกุรอ่าน ด้วยเหตุแห่งความพึงพอใจที่มีต่อมัน และ
(เป็นหลักฐานว่าอนุญาตให้)อ่านมันมากๆได้ และไม่ถือว่าการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการละทิ้ง (อัลกุรอ่าน)ในส่วนอื่นๆ”

( โปรดดู ฟัตฮุลบารีย์ ของท่าน อิบนุฮาญัร เล่มที่ 3 หน้าที่ 150 )

และเมื่อพิจารณาบริบทในสังคมบ้านเรา จะพบว่า

• สังคมบ้านเรานั้น มีผู้ที่จดจำ อัลกุรอ่าน กันอยู่น้อยมาก ดังนั้นการอ่าน ซูเราะฮ์ที่ยาวๆนั้น จึงถือเป็นความยากลำบากแก่ผู้ที่ทำหน้าเป็นอีหม่าม อย่างมากเลยทีเดียว

• ซูเราะฮ์ อัตตากาษุร นั้น หากนับไปจนถึง ซูเราะฮ์ อัล-มาซัด แล้ว ก็เป็นจำนวนที่พอเหมาะ กับ รอกาอัตของ ตารอเวี้ยะ ซึ่งกระทำกัน 20 รอกาอัต ...และซูเราะฮ์เหล่านี้ คือ ซูเราะฮ์ ท้ายๆของอัล-กุรอ่าน ซึ่งมุสลิมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในสังคมบ้านเรานั้น มักจดจำและคุ้นเคยกันดี

• การอ่าน ซูเราะฮ์ อัล-อิคลาศ(กุลฮูฯ) สลับไปกับการอ่าน ซูเราะฮ์ข้างต้นนั้น ไม่ถือเป็นที่เสื่อมเสียแต่ประการใด หากเราได้พิจารณา จากฮาดีษ และ คำกล่าวของ อิบนุฮาญัร ข้างต้น

• การละหมาด ตารอเวียะ 20 รอกาอัตนั้น ใช้เวลานาน พอสมควร ซึ่ง มุสลิมบ้านเรา ไม่ค่อยเคยชินกับการ ยืนละหมาดเป็นเวลานานๆ ฉะนั้น การ อ่านซูเราะฮ์ สั้นๆ ก็คงจะเพียงพอแล้วที่จะให้พวกเขารู้จักถึงความอดทนและเสียสละเวลาเพื่อ รับใช้องค์อภิบาลแห่งสากลจักรวาล

3. หลังจาก สาลาม ในช่วงละหมาด ตะรอวีฮฺ จะอ่าน ศอลาวาต นาบี อย่างที่คนทั่วไปเขาทำกัน ได้ไหม?

....อ่านก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ.....

การละหมาดตารอเวี้ยะในบ้านเรานั้น ...หากสังเกตดู ก็จะพบว่า ทุกๆหลังจากการให้ สาลามแล้ว...ก็ จะมีผู้กล่าว ศอลาวาตประสาทพร แด่องค์ศาสดาของเรา ใช่ไหมครับ ...การกล่าวศอลาวาต มักจะกระทำกันพร้อมเพรียงและมีเสียงดัง ... ซึ่งเราจะใช้เวลาช่วงดังกล่าวนั้น ขอดุอา และ หยุดพักไปพร้อมๆกัน ...


การอ่าน ศอลาวาตที่เราพบเจอกันใน ช่วงการละหมาดตะรอเวี้ยะนั้น ไม่ใช่ว่าจะมีปรากฏ อยู่เฉพาะในบ้านเราเท่านั้น นะครับ.. เพราะนอกเหนือจาก ประเทศใน
อุษาอาคเนย์แล้ว...การกระทำดังกล่าว ได้มี ปฏิบัติกัน ในบางประเทศแถบอาหรับ เช่น ประเทศ เยเมน ตูนีเซีย เป็นต้น ซึ่งเราจะรับทราบได้จากคำ ฟัตวา ของท่าน ชัยคฺ อับดุร-รอฮฺมาน บิน ซิยาด อัซ-ซุบัยดีย์ อัช-ชาฟีอีย์ (ฮ.ศ. 975) ท่าน
ได้กล่าวว่า

لم يصرح أحد من الأصحاب باستحباب الصلاة على النبي بين تسليمات التراويح، لكن الذي يفهم من عموم كلامهم أنه يستحب الدعاء عقب كل صلاة، والمراد عقب التسليم، وقد صرحوا بأنه يستحب افتتاح الدعاء وختمه بالصلاة على النبي وعلى آله وأصحابه وسلم، فاستحباب الصلاة حينئذ من هذه الحيثية

ความว่า

“ ไม่มีลูกศิษย์ลูกหาของท่าน อีหม่าม ชาฟีอีย์ คนใดเลยที่ได้บอกไว้อย่างชัดเจน เกี่ยวกับเรื่อง สุนัตให้ ซอลาวาต แก่ท่าน ศาสดา ในช่วงระหว่างการให้สาลามต่างๆในละหมาดตารอเวี้ยะ... แต่ถึงกระนั้น ...สิ่งที่เราเข้าใจได้จาก คำกล่าวของพวกเขาโดยรวมก็คือ... ถือเป็น สุนัต (ส่งเสริมให้กระทำ)การดุอา หลังจาก ทุกๆการละหมาด ซึ่งหมายถึง หลังจากการให้ สาลามนั้นเอง... และแท้จริงนั้น พวกเขา(เหล่าปวงปราชญ์ชาฟีอียะฮ์ ) ก็ได้ให้ความชัดเจนไว้ว่า ... ถือเป็น สุนัต ให้ เริ่มการขอดุอา และ จบการขอดุอา ด้วยกับการ ศอลาวาต แก่ท่าน ศาสดา
ตลอดจน วงศาคณาญาติและมิตรสหายทั้งหลายของท่าน...

ฉะนั้น การที่ สุนัตให้ กล่าว ศอลาวาต ในการ ละหมาด ตารอเวี้ยะนั้น ก็เกิดจากการพิจารณาในส่วนนี้”

(โปรด ดู “ตัลคีศ ฟาตาวา อิบนู ซียาด” หน้า 94 )

พีน้องครับ...



และขอทิ้งท้ายบทความนี้ไว้ด้วยคำกล่าวของ
อัล-ฮาบีบ อับดุลลอฮฺ บิน อาลาวีย์ อัล-ฮัดดาด (เกิด ฮ.ศ. 1044) เกี่ยวกับการ ละหมาดตะรอเวียฮ์ ว่า

“ ขอท่านจงหลีกห่างจากการละหมาดสุนัตแบบเร่งด่วน ดังที่ได้ปฏิบัติกันเป็นวิสัยโดยผู้โง่เขลาทั้งหลายในการละหมาดตะรอเวียฮ์ ...

นั้นก็เพราะการปฏิบัติอย่างเร่งรีบดังกล่าวนั้น อาจทำให้พวกเขาบกพร่องในการปฏิบัติองค์ประกอบบางอย่างในการละหมาด เช่น การ ฏุมะนีนะอฺ(สงบนิ่ง)ในการ รุกุวอฺ หรือ ซูญูด หรือ อาจอ่าน ฟาติฮะฮ์แบบไม่จริงจัง เพราะอ่านแบบรีบร้อน...

จนเป็นเหตุให้การละหมาดของพวกเขาบางคนไม่มีค่าควรแก่การได้รับผลบุญจากองค์อัลลออ์เลย...

เขาเหล่านั้นเสร็จสิ้นการละหมาดกันอย่างภาคภูมิ (เพราะเสร็จเร็ว)... สิ่งดังกล่าวนี้ เป็นหนึ่งในกลลวงของ ชัยฏอน ที่ได้วางไว้แก่ผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เพื่อที่จะให้
อามาลต่างๆของพวกเขาบกพร่องไป ด้วยเหตุนี้ ขอพวกท่านพึงสังวรและระมัดระวังกันให้ดีเถิด โอ้.. พี่น้องของฉัน....

เมื่อท่านทั้งหลาย ปฏิบัติละหมาดตะรอเวียฮฺหรือ ละหมาดสุนัตอื่นๆ...ก็ขอพวกท่านจงทำให้การ ยืน ...การ รุกุวอฺ ...การซูญูด ฯลฯ นั้นสมบูรณ์แบบเถิด ...
ทั้งการ คูชุวอฺ ...การ ฮูฎูร และรักษาไว้ซึ่ง รูกุน และ อาดับ ต่างๆของการละหมาด...”

(สรุปจาก " อัล-นาศออิฮฺ อัดดีนียะฮฺ วัลวาศอยา อัล อิมานียะฮ์ หน้า 38 )

ขอให้มีความสุขกับ รอมฎอน นะครับ...
เขียนโดย..... wahabi buta
https://www.facebook.com/wahabibuta?fref=ts

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น